มารู้จัก Oseltamivir กันเถอะ

Posted on กรกฎาคม 26, 2009. Filed under: มารู้จักโรคไข้หวัดหมูกันเถอะ | ป้ายกำกับ: |

           oseltamivir เป็นยาที่ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ชื่อการค้าที่มีในประเทศไทยมี 2 ช่อคือ Tamiflu ของบริษัทโรช และอีกชื่อคือ GPO-A-Flu ขององค์การเภสัชกรรม

ข้อบ่งใช้

  • ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็กที่อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  • ใช้ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็กที่อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  • โดยในตอนนี้ยา Tamiflu (Oseltamivir) ใช้สำหรับไข้หวัดใหญ่ (H3N2) ไข้หวัดนก (H5N1) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1)

กลไกการออกฤทธิ์

           ยา oseltamivir อยู่ในกลุ่ม neuraminidase inhibitor ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ neuraminidase ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดเอและบี ซึ่งจะตัด sialic acid บนผิวเซลล์ออกจาก Hemagglutinin ของไวรัส ดังนั้นหากเอนไซม์ถูกยับยั้ง ไวรัสก็ไม่สามารถ budding ออกจาก infected cells ไปติดเชื้อเซลล์อื่นข้างเคียงได้ จึงเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสหนทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง

 oseltamivir

 

Read Full Post | Make a Comment ( None so far )

ไข้หวัดหมู มหันตภัยตัวใหม่

Posted on กรกฎาคม 25, 2009. Filed under: มารู้จักโรคไข้หวัดหมูกันเถอะ | ป้ายกำกับ:, |

ไข้หวัดหมูคืออะไร?

H1N1

           ไข้หวัดหมู หรือ Swine Influenza คือ โรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (มักจะเป็นเชื้อ Influenza type A เป็นส่วนใหญ่) สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อย (subtype) ได้หลากหลายดังเช่นไข้หวัดใหญ่ที่พบทั่วไป สายพันธุ์ที่พบได้บ่อยคือ H1N1 และสายพันธุ์อื่นๆ เช่น H1N2 H3N1 H3N2 (สายพันธุ์ H3N2 มักจะเกิดจากการแพร่ระบาดจากคนสู่หมู) ในหมูพบว่ามีอัตราป่วย (morbidity rate) ค่อนข้างสูง แต่อันตราตาย (mortality rate) ค่อนข้างต่ำ 1-4%

เชื้อก่อโรค

Family Orthomyxoviridae

ในการระบาดครั้งนี้ พบว่าเป็นเชื้อพันธุ์ Influenza A/Clifornia/04/2009 (H1N1)

การแพร่เชื้อ

มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคน
1.แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอ หรือจามรดกัน (เชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย )
2. ติดจากมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา หากนำมือที่มีเชื้อไปสัมผัส

ระยะแพร่เชื้อ

ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการ จนถึง 7 วันหลังแสดงอาการ ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจจะแพร่เชื้อได้นานขึ้น ลักษณะทางคลินิก เหมือนไข้หวัดใหญ่ (ระบบทางเดินหายใจ) ในคน ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดศีรษะ หนาวสั่น มีน้ำมูก คัดจมูก และอ่อนเพลีย อาจจะพบอาการท้องเสีย หรืออาเจียนได้ อาจจะพบว่าผู้ที่รับเชื้อจะไม่มีอาการ แสดงไม่รุนแรง อาการรุนแรง ปอดอักเสบจนถึงเสียชีวิตได้

อาการ โรคไข้หวัดหมู

-มีไข้สูง
-หายใจไม่สะดวก
-ปวดศีรษะ ปวดตา
-ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง
-อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและจะมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน

การรักษา

พบว่าเชื้อไวต่อ Oseltamivir, แต่ดื้อ Amantadine และ Rimantadine

การแพร่ระบาด

การระบาดในสัตว์

           จากรายงานของโอไอดี (OIE) พบการระบาดในสหรัฐอเมริกา เป็น endemic area ในทวีปอเมริกาเหนือ – ใต้ ทวีปยุโรป (อังกฤษ สวีเดน และ อิตาลี) ทวีปแอฟริกา (เคนยา) ทวีปเอเชีย (จีน และ ญี่ปุ่น)

การระบาดในคน

 จากองค์การอนามัยโลกตามกฎอนามัยโลกปี พ.ศ. 2550 มีการรายงานโรคจากอเมริกาและสเปน

สำหรับคำแนะนำในการป้องกันเบื้องต้น เหมือนการป้องกันไข้หวัดธรรมดา คือ

1.เมื่อเป็นหวัดเวลาจามจะต้องใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด เพื่อป้องกันการติดต่อ
2.หมั่นล้างมือ
3.หากมีอาการรุนแรง ไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด และที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์หมู

สถานการณ์โรค

ในสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2519 พบผู้ป่วยมากกว่า 200 ราย เสียชีวิต 1 ราย

พ.ศ. 2531 พบผู้ป่วยที่วิสคอนซิน 1 รายเสียชีวิต

พ.ศ. 2548 จนถึงเดือนมกราคม 2552 มีการรายงานผู้ป่วย 12 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต

พ.ศ. 2552 ทั้งหมด 7 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต (เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1 ราย) 5 รายที่แคลิฟอร์เนีย 2 ราย ที่เทกซัส

 (11 US was age 9 – 50, all recover, 2 seek hospital care on 26 – April 14.00)          

เม็กซิโก

            จาก Federal district, Mexico 18 มีนาคม – 23 เมษายน 2552 มีการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) ทั้งหมด 854 ราย เสียชีวิต 59 ราย ใน San Louis Potosi, central Mexico 24 ราย เสียชีวิต 3 ราย ใน Mexicali, ใกล้ชายแดนสหรัฐอเมริกา 4 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต

             มาตรการป้องกันการระบาด ในการระบาดครั้งนี้พบว่าผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Young adult ได้มีการปิดโรงเรียนและสถานที่ชุมชน มีการคัดกรองนักเดินทางข้ามชายแดนที่มีไข้ เพื่อแยกโรคและดำเนินการส่งตัวกลับภายหลัง

ขอขอบคุณ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

Read Full Post | Make a Comment ( None so far )

Liked it here?
Why not try sites on the blogroll...